โรงพยาบาลมหาชัย 3
บริการ
ข้อมูลสุขภาพ
เกี่ยวกับเรา
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
เลือกภาษา

หน้าหลัก แพ็กเกจและโปรโชั่น

สาเหตุของอาการไอ

อาการไอ คืออะไร? อาการไอ (Cough) เกิดจากการที่มีสิ่งกระตุ้น หรือสารระคายเคืองบริเวณ ทางเดินหายใจส่วนบน และล่าง ทำให้มีการส่งสัญญาณไปที่บริเวณสมองส่วนควบคุมการไอ และส่งสัญญาณมาที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อกระบังลม เกิดการตีบแคบของหลอดลม จึงเกิดอาการไอขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกาย เพื่อกำจัดเชื้อโรค เสมหะ และสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ อาการไอ แบ่งตามระยะเวลา ได้ดังนี้ อาการไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ อาการไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 3 – 8 สัปดาห์ สาเหตุของอาการไอ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายโรค หลายปัจจัย เช่น อาการไอจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ปอดบวม จากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หืด หลอดลม และถุงลมพอง เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม เพราะสัมผัสกับสารระคายเคือง หรือ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ ฯลฯ จากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จากการรับประทานยารักษา ความดันโลหิตสูง บางชนิดเป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง โพรงจมูกอักเสบ อาการไอจากการอักเสบติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น โรคกรดไหลย้อน จากสายเสียงอักเสบเรื้อรัง ยาบรรเทาอาการไอ ยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบแห้ง หรือยาแก้ไอที่กดอาการไอ สำหรับคนที่มีอาการไอแห้ง หรือไอแรง ๆ ยาแก้ไอแบบนี้จะทำให้หยุดไอ เพราะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้กลไกตอบสนองของร่างกายต่ออาการไอเกิดขึ้นน้อยลง และช่วยบรรเทาอาการไอ ยากลุ่มนี้มักใช้สำหรับบรรเทาอาการไอที่เกิดจากการแพ้ หรืออาการไอที่ไม่มีเสมหะ เแต่หากร่างกายมีเสมหะอยู่ก็จะทำให้เสมหะไม่ถูกขับออกจากร่างกาย ซึ่งอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ ยาแก้ไอสำหรับไอแบบมีเสมหะ มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ 1. ยาขับเสมหะ – จะกระตุ้นให้เกิดอาการไอมากขึ้นเพื่อให้ไอเอาเสมหะออกมา 2. ยาละลายเสมหะ – จะไปทำให้โมเลกุลเสมหะมีน้ำมากขึ้น หรือทำให้เสมหะมีขนาดเล็กลง เพื่อให้ร่างกายกำจัดออกไปได้ง่ายขึ้น *สำหรับปัจจุบันแพทย์ หรือเภสัชกรมักจะแนะนำเป็นยาละลายเสมหะ ยาละลายเสมหะที่เราเห็นทั่วไป มีอยู่ 4 ชนิด ยาละลายเสมหะ บรอมเฮกซีน (Bromhexine) เป็นตัวแรก ๆ ที่มีกลไก ทำให้เสมหะมีน้ำมากขึ้น เสมหะใสขึ้น ข้อเสียคือออกฤทธิ์ช้า ยาละลายเสมหะ แอมบรอกซอล (Ambroxol) กลไกเหมือนบรอมเฮกซีน ออกฤทธิ์เร็ว แต่ราคาค่อนข้างสูง ยาละลายเสมหะ คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) กลไกการทำงานจะเยอะกว่า นอกจากเพิ่มน้ำในเสมหะ มีกลไกบางอย่างทำให้เสมหะมีขนาดเล็กลง หรืออาจจะแค่กลืนลงกระเพาะอาหารก็ได้ ซึ่งปลอดภัย ราคาไม่สูง มีทั้งแบบเม็ด และแบบน้ำ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) จะมีกลไกเหมือนกับคาร์โบซิสเทอีนแต่จะมาในรูปแบบชงหรือเม็ดฟู่ ซึ่งยุ่งยากในการกิน และยังต้องระวังในคนเป็นโรคหอบหืด เพราะอาจไปกระตุ้นหอบหืดได้

เปิดบริการผ่าตัดวันเดียวกลับ ONE DAY SURGERY : ODS

โรงพยาบาลมหาชัย 3 เปิดบริการผ่าตัดวันเดียวกลับ (ONE DAY SURGERY : ODS) โรคหรือภาวะที่เข้าร่วมการรักษา ต้อเนื้อ กระดูกระยางค์หัก โรคไส้เลื่อนขาหนีบ ฝีรอบฑสูตร ฝีรอบทวาร แผลที่ทวารหนัก โรคริดสีดวงทวาร ติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่ ฝีเต้านม โรคถุงน้ำอัณฑะ ท่อปัสสาวะตึบ ทำหมันหญิง ประโยชน์ เข้าถึงบริการรวดเร็วและได้มาตรฐาน ลดระยะเวลาในการรอคิวผ่าตัด ลดระยะเวลาในการนอนพักฟื้นโรงพยาบาล

การตรวจสุขภาพฟรี สำหรับ ผู้ประกันตนประกันสังคม

การ "ตรวจสุขภาพ" ฟรี สำหรับประกันสังคม หรือ ผู้ประกันตน  สำนักงานประกันสังคมร่วมขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงแรงงานเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ประกันตนเชิงรุกในทุกมิติ โดยให้สิทธิผู้ประกันตนเข้ารับการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่ว มโครงการตรวจสุขภาพกับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพ ฟรี 14 รายการ กับสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพ ผู้ประกันตน สามารถ "ตรวจสุขภาพ" ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 14 รายการ ดังนี้   การตรวจร่างกายตามระบบ    1.การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ 1 ปี   2.การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข อายุ 30 39 ปี ตรวจทุก 3 ปี , 40 54 ปี ตรวจทุกปี , 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง    3.การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ อายุ 40 54 ปีตรวจ 1 ครั้ง , อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1 2 ปี    4.การตรวจสายตาด้วย Snellen eye Chart อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี   การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 5.ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC อายุ 18 54 ปีตรวจ 1 ครั้ง , อายุ 55 70 ปีตรวจ 1 ครั้ง/ปี   6.ปัสสาวะ UA อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี   การตรวจสารเคมีในเลือด    7.น้ำตาลในเลือด FBS อายุ 35 54 ปีตรวจทุก 3 ปี , อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี   8.การทำงานของไต Cr อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี   9.ไขมันในเลือดชนิด Total cholesterol & HDL อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ครั้ง

โรงพยาบาลมหาชัย 3

เลขที่ 927/45 ถนนเศรษฐกิจ1 ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง สมุทรสาคร 74000

   034-429-111

              

โรงพยาบาลมหาชัย 3

เลขที่ 927/45 ถนนเศรษฐกิจ1 ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง สมุทรสาคร 74000

   034-429-111               

ฝากข้อความติดต่อกลับ

Copyrights © 2024 All Rights Reserved. MAHACHAI3.COM Version 1.2. Designed by WEB-BEE-DEV. +143,491 Times.