หน้าหลัก บทความสุขภาพ ไข้หวัดใหญ่...อันตรายกว่าที่คิด
Visited +8.61K Times
ไข้หวัดใหญ่...อันตรายกว่าที่คิด
อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้มีอาการป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่าย และมักเกิดขึ้นบ่อยๆ โรคไข้หวัดใหญ่ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่ระบาดในเด็กเป็นจํานวนมากโดยเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจําแนก ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด A, B และ C โดยแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ อีกหลายชนิด โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีอาการรุนแรง คือ ชนิด A และ B ส่วน สายพันธุ์ชนิด C มักไม่รุนแรง และพบประปราย รู้จักโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ซึ่งเชื้อนี้มีหลายชนิดมากพอที่จะทำให้สามารถแยกไข้หวัดใหญ่ในคนได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีก อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง 2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสตัวเดิมมาก จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในวงกว้าง ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป อาการไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่จะแสดงอาการ ไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีกล้ามเนื้ออักเสบ และอาการทางระบบหายใจตั้งเเต่ นํ้ามูก ไอมาก หรือ หากรุนเเรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ เสียชีวิต และอาจมีอาการที่ระบบอื่นอย่าง ระบบประสาท เช่น ไข้สูงเเล้วชัก ซึม หรือ ไข้สมองอักเสบได้ โดยทั่วไปหากเด็กปกติที่มีสุขภาพดีติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มักจะหายได้เองใน 7 วัน เเต่มีบางรายเกิดการติดเชื้อเเล้ว แสดงอาการรุนเเรงตามที่ กล่าวมา ส่วนเด็กที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคหืด โรคหัวใจ เด็กที่ต้องกินยา Aspirin หรือในเด็กเล็กกว่า 2 ปี มีความเสี่ยงใน การเกิดการติดเชื้อที รุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า ไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงได้โดยการให้เด็กได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปัจจุบัน วัคซีนจะบรรจุไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ โดยเป็น A และ B อย่างละจํานวน 2 สายพันธุ์ มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรค และการลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดี วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนเป็นต้นไป โดยในเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปีที่รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ครั้งเเรก จะต้องได้รับ 2 ครั้ง ในปีแรกนั้น โดยห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน หลังจากนั้น ควรได้รับการฉีดวัคซีน ทุกๆ ปี ปี ละ 1 ครั้ง การป้องกัน อื่นๆ ที่จะช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ล้างมือ ใส่หน้ากาก หลีกเลี่ยงสถานที แออัดหรือคลุกคลีคนป่วย เมื่อมีการไอ จาม ควรปิดปาก ปิ ดจมูก และควรแยกเด็กทีเป็นไข้หวัดออกจากเด็กคนอื่นๆ เพือป้องกันการติด ไข้หวัดระหว่างกัน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 1.หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วย 2.ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น 3.ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย 4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นพวกผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง 5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6.ดื่มน้ำสะอาด 7.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 8.หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น 9.ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพิ่มเติมจากตารางฉีดวัคซีนตามปกติ แนะนำให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยงได้แก่ คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 19 ปี คนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่จะต้องไปคลินิกหรือไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ ช่วงฤดูไข้หวัด ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล คนที่กินยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
หรือ ทำการนัดหมายได้ที่ ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลมหาชัย 3
ช่องทางติดต่อเพิ่มเติม
034-428491, 034-428492, 034-428493, 034-428494 ต่อ 124,118
การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว
การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น โรคภัยที่มากับฤดูหนาวแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม 1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ (เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ โรคโควิด-19) แพร่กระจายผ่านละอองฝอย เสมหะและน้ำมูก จากการไอ จาม มักมีอาการไข้เฉียบพลัน ไอ หนาว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะหายได้เอง แต่กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรัง กลุ่มเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง ในกรณีที่สงสัยเป็น covid-19 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที และหากผลเป็นบวกให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และเข้ารับการรักษา 2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร (เช่น โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำ/น้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค (ตัวอบ่างเช่น ไวรัสก่อโรคทางเดินอาหาร) การรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก หรือค้างมื้อ ภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด 3. โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด) ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดคุยระยะใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ใน 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ มักมีไข้ น้ำมูกไหล จะไอแห้ง มีผื่นขึ้นลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ ไม่มียารักษาจำเพาะ แต่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคได้ โดยฉีดเข็มแรกอายุ 9-12 เดือน เข็มสองอายุ 1 ปีครึ่ง 4. ภัยจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตขึ้น ทั้งในและนอกที่พักอาศัย จากการที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอ ควรเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มเครื่องดื่มที่ให้ความอุ่น สวมใส่เครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่เพียงพอ ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพในฤดูหนาว ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาดหรือ น้ำต้มสุก น้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ (เครื่องหมาย อย.) รวมทั้งเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด ไม่มีตะกอน ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารอื่น รักษาร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง โดยการสวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่น มีความต้านทานโรค ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด นาน 15-20 วินาที หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยควรอยู่บ้าน พักรักษา ตัวให้หาย ไม่ควรเข้าไปในที่ชุมชน แต่หากเข้าไปในที่ชุมชนให้สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ สะอาดอยู่เสมอ การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการป่วย และลดโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิต อ้างอิง: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=38637&deptcode=brc http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/DRAWER022/GENERAL/DATA0003/00003116.PDF
องค์กรหุ่นดี สุขภาพดีด้วย 2B Safety
โครงการ “องค์กรหุ่นดี สุขภาพดีด้วย 2B Safety” ระยะเวลา 1 ปี วัตถุประสงค์เพื่อ พนักงานลดเส้นรอบพุงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (≤ ค่าส่วนสูง / หาร 2) พนักงานลดBMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (18.5-22.9) พนักงานมีบุคลิกภาพที่ดี สุขภาพดี มั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น พนักงานไม่เกิดโรคเรื้อรัง NCDs
การประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่23
การประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่23 ผนึกกำลัง เพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะ
ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อรู้ทันโรคร้ายที่อาจมาเยือนโดยไม่รู้ตัว
หลายๆ คนอาจละเลยการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบวิถีชีวิตในปัจจุบัน ทำให้เราเสี่ยงต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคภัย ทั้งการพักผ่อนน้อย ความเครียด อาหาร และมลภาวะต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญ การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการตรวจที่ช่วยให้เรารู้ทันสภาพร่างกายของเรา ที่สำคัญหากตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ทำให้มีโอกาสรักษาหายขาดได้ ไม่ปล่อยให้โรคลุกลาม การตรวจสุขภาพประจำปี สำคัญอย่างไร? จุดประสงค์หลักของการตรวจสุขภาพประจำปี คือ 1 ตรวจคัดกรองเบื้องต้นตามปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล โดยตรวจหาโรคแฝงที่เราเสี่ยงที่จะเป็น อาจด้วยพันธุกรรม หรือโรคที่พบบ่อย เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งในระยะแรกอย่าง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น 2 ตรวจหาพฤติกรรมเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เป็นต้น อายุเท่าไหร่ ควรเริ่มตรวจสุขภาพประจำปี? กลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่มีการแนะนำให้ตรวจสุขภาพประจำปี เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อความเสื่อมสภาพของร่างกายและโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น เป็นช่วงอายุของวัยทำงาน ซึ่งมักไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เครียดจากการทำงาน ในขณะเดียวกัน เป็นวัยที่มีกำลังทรัพย์ สามารถเลือกกินอาหารตามใจตัวเองมากขึ้น อาจมีปัญหาทางด้านโภชนาการ แต่กลับไม่ใช่ช่วงวัยที่สามารถซ่อม สร้าง เสริม ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับวัยเด็กหรือวัยรุ่น ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม หากท่านมีความเสี่ยงของโรคมากกว่าคนทั่วไป เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรค ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพแต่เนิ่น ๆ การตรวจสุขภาพประจำปีในแต่ละช่วงอายุ 1. ผู้ที่มีอายุ 30 – 50 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่มักมีภาระความรับผิดชอบในการทำงานที่สูงกว่าวัยอื่น มีเวลาดูแลตัวเองน้อยและมีความเครียดอย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยการตรวจเบื้องต้นที่แนะนำ คือ การตรวจร่างกายทั่วไป และหากมีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง เบาหวาน มะเร็ง หรืออื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบตอนซักประวัติ เพื่อรับข้อแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสุขภาพ ตรวจการได้ยิน และตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน การตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะซึมเศร้า หากดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือมีประวัติใช้สารเสพติด ควรเข้ารับการตรวจประเมินสภาวะสุขภาพเพิ่มเติมเป็นพิเศษด้วย ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ดังนั้น นอกจากการตรวจข้างต้นแล้วแนะนำให้ตรวจรายการเพิ่มเติมคือ – ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง หรือตามที่สูตินรีแพทย์แนะนำ – อายุ 30 – 40 ปี หากประสงค์ตรวจเต้านม แนะนำตรวจคัดกรองด้วยการทำอัลตร้าซาวด์ – อายุตั้งแต่ 40 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อมูลเพิ่มเติม มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ผู้ที่อายุระหว่าง 40 – 50 ปี ควรตรวจวัดสายตาและสุขภาพดวงตาเพิ่มเติมด้วย – คัดกรองโรคต้อหิน ภาวะความดันลูกตาสูง ความผิดปกติอื่น ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง 2. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีเหมือนกับกลุ่มวัยทำงาน แต่จะมีการตรวจที่แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม เนื่องจากอยู่ในวัยที่พบโอกาสที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น ได้แก่ ตรวจอุจจาระ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ตรวจปัสสาวะ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ การตรวจด้านภาวะทางโภชนาการ เช่น ระดับสารอาหารวิตามินต่าง ๆ ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) ควรตรวจวัดระดับน้ำตาล ตรวจไขมันในเลือด และประเมินภาวะการทำงานของไต ด้วยการตรวจวัดระดับครีอะทีนิน (creatinine) เป็นประจำ ตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ และ ตรวจติดตามทุก 5-10 ปี ตามนัดหมายแพทย์ อายุ 60 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน อายุ 60 – 64 ปี ควรตรวจตาทุก 2 – 4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาทุก 1 – 2 ปี และตรวจประเมินสมรรถภาพสมอง 3. ตรวจรายการเพิ่มเติมตามความเสี่ยง โปรแกรมตรวจสุขภาพจะมีแพคเกจให้เลือกหลากหลาย โดยมักจะแบ่งตามช่วงอายุดังที่กล่าวไปข้างต้น แต่หากสงสัยหรือพบว่าตนเองมีความเสี่ยง เช่น มีประวัติครอบครัว หรือมีอาการ/สัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น มีอาการแน่นหน้าอก ขับถ่ายผิดปกติ แขนขาอ่อนแรง หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ และสามารถเลือกการตรวจคัดกรองโรคที่สงสัยเพิ่มเติม หรือเลือกแพคเกจตรวจเป็นแพคเกจอื่นได้ แม้จะยังไม่ถึงช่วงอายุที่แนะนำ ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร ? การตรวจสุขภาพประจำปีไม่เพียงแต่ช่วยค้นหาโรคภัยต่าง ๆ เท่านั้น ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพยังสามารถบอกถึง ความแข็งแรง และความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกายในปัจจุบันด้วย และยังเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนสุขภาพในอนาคต เช่น วางแผนการรับประทานอาหาร ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การวางแผนออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การผักผ่อน ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และทำให้มีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมาอีกด้วย ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร ? การตรวจสุขภาพประจำปีไม่เพียงแต่ช่วยค้นหาโรคภัยต่าง ๆ เท่านั้น ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพยังสามารถบอกถึง ความแข็งแรง และความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกายในปัจจุบันด้วย และยังเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนสุขภาพในอนาคต เช่น วางแผนการรับประทานอาหาร ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การวางแผนออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การผักผ่อน ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และทำให้มีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมาอีกด้วย
ลงทะเบียนโควิด
สำหรับผู้ประกันตน โรงพยาบาลมหาชัย 3 ตรวจ ATK เป็นผลบวก รักษาแบบผู้ป่วยนอก ลงทะเบียนล่วงหน้าและรับยาตอนเย็น สำหรับผู้ติดเชื้อกลุ่มอาการสีเขียว (ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย ) สามารถลงทะเบียนรักษาล่วงหน้า ตั้งแต่เวลา 00.00-12.00 น. และรับยาได้ตั้งแต่เวลา 15.00-18.00 น ด้วยความห่วงใยจากโรงพยาบาลมหาชัย 3